ผ่าตัดลดน้ำหนักแบบบายพาส

ผ่าตัดลดน้ำหนักแบบบายพาส คืออะไร ดีหรือไม่ ไปดูกันเลย!!

การผ่าตัดโรคอ้วน เป็นการผ่าตัดที่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้เองไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายหรือการความคุมน้ำหนัก ดังนั้นทางศัลยกรรมทางการแพทย์ จึงได้นำการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic surgery) เข้ามาใช้ โดยจะมีเพียงรูแผลเล็ก ๆ ที่หน้าท้องประมาณ 1 – 6 รู ขึ้นกับเทคนิคการผ่าตัด ซึ่งจะทำให้ความเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่า และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า ชนิดการผ่าตัดมีอยู่หลายแบบด้วยกัน  การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก คือ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลง และอาจจะมีการผ่าตัดเพื่อปรับเปลี่ยนทางเดินอาหารใหม่ ทำให้การดูดซึมอาหารลดลงด้วย ทั้ง 2 กลไกนี้จะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารแล้วรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น และก็ทำให้น้ำหนักลดลงในที่สุด

การผ่าตัดลดกระเพาะมี 2 แบบ

1. การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร (Sleeve Gastrectomy)
ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดกระเพาะส่วนใหญ่ให้เหลือกระเพาะประมาณ 20 % หรือเหลือความจุประมาณ 100 – 200 มิลลิลิตร โดยเหลือไว้เป็นลักษณะคล้ายท่อแป๊บ หรือรูปกล้วย อาหารจะผ่านลงมาสู่กระเพาะอาหารที่เหลือและผ่านไปยังลำไส้เล็กได้ตามปกติ เพียงแต่มีความจุลดลงเท่านั้น ผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหารได้เพียงไม่กี่คำ ก็จะรู้สึกแน่น และอิ่มเร็วขึ้น การผ่าตัดชนิดนี้มีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างต่ำกว่า การผ่าตัดแบบบายพาส แต่ประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักค่อนข้างดี ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ดีเท่าการผ่าตัดแบบบายพาสก็ตาม

2. ผ่าตัดลดน้ำหนักแบบบายพาส การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารร่วมกับการลัดทางเดินอาหาร

การทำศัลยกรรมแบบนี้ เป็นการตัดกระเพาะอาหารส่วนต้นที่ต่อลงมาจากหลอดอาหาร ให้เหลือเป็นกระเปาะขนาดเท่าลูกปิงปอง หรือลูกกอล์ฟ ซึ่งมีความจุประมาณ 20-30 มิลลิลิตร หลังจากนั้นก็ตัดเอาลำไส้เล็กส่วนกลาง มาต่อเข้ากับกระเปาะกระเพาะอาหารที่ตัดไว้ และนำปลายลำไส้เล็กส่วนต้นมาต่อเข้ากับลำไส้เล็กส่วนกลาง อาหารจะผ่านลงมาสู่กระเปาะกระเพาะอาหารซึ่งมีขนาดเล็ก จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น หลังจากนั้นอาหารจะเคลื่อนผ่านไปยังลำไส้เล็กที่นำมาต่อไว้ อาหารจะยังไม่สัมผัสกับน้ำย่อยที่สร้างมาจากกระเพาะอาหารส่วนที่เหลือ และที่สร้างมาจากตับและตับอ่อน จนกว่าจะผ่านมาถึงบริเวณที่ลำไส้เล็กมาต่อกัน ซึ่งช่วงที่อาหารยังไม่ถูกย่อยโดยน้ำย่อย ลำไส้ก็จะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ นั่นคือกลไกลดการดูดซึมสารอาหาร

การทำศัลยกรรมทั้ง 2 วิธีนี้ จะช่วยทำให้ผู้ป่วยน้ำหนักลดลงได้ และลดการเสี่ยงกับการเกิดโรคประจำตัวได้

การผ่าตัดลดกระเพาะมี 2 แบบ

ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ต้องเตรียมตัวอย่างไร

ผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย ตรวจรับดัชนีมวลกาย หรือ BMI ของตัวเองก่อนว่าสามารถทำการผ่าตัดได้หรือไม่

ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) คือ ค่าที่สามารถวัดได้จากน้ำหนักของแต่ละบุคคลต่อความสูง ซึ่งค่าดัชนีมวลกายนี้มักถูกนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดของปริมาณไขมันที่มีอยู่ในร่างกายของคนเรา

วิธีคิด

ดัชนีมวลกาย (BMI)   =   น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)

                                 ส่วนสูง (เมตร)2

โดยสามารถแปลผลค่า BMI ได้ดังนี้

  • ค่าBMI < 5              แสดงถึง            อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยหรือผอม
  • ค่าBMI 5 – 22.90     แสดงถึง            อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ค่าBMI 23 – 24.90        แสดงถึง          น้ำหนักเกิน
  • ค่าBMI 25 – 90        แสดงถึง            โรคอ้วนระดับที่ 1
  • ค่าBMI 30 ขึ้นไป            แสดงถึง            โรคอ้วนระดับที่ 2

การผ่าตัดกระเพาะแพทย์จะทำให้ก็ต่อเมื่อคำนวณค่าออกมาแล้ว BMI 30 ขึ้นไป

จากนั้นต้องแจ้งประวัติการรักษา พร้อมแจ้งโรคประจำให้แพทย์ทราบ และมีการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดทุกระบบ เพื่อดูความพร้อมก่อนการผ่าตัด และต้องพยายามลดน้ำหนักด้วยตัวเองก่อนอย่างน้อย 5 – 10 % เพื่อการผ่าตัดที่ปลอดภัยมากขึ้น โดยทั่วไปการผ่าตัดจะเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง แผลเล็ก ฟื้นตัวไว นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลระยะสั้น 1 – 2 คืนก็กลับบ้านได้แล้ว แต่หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องกลับมาตรวจทุก ๆ 3 เดือนในช่วง 1 ปีแรก เพื่อดูว่ามีผลแทรกซ้อนระยะยาวหลังผ่าตัดหรือไม่ น้ำหนักลดลงหรือไม่ และโรคประจำตัวต่าง ๆ ของคนไข้ดีขึ้นหรือไม่

และผู้ที่รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ต้องเข้าใจก่อนว่า เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาสุขภาพ ไม่ใช่การผ่าตัดเพื่อรักษาความสวยงาม ดังนั้นหากผ่าตัดไปแล้ว แต่ยังไม่ปรับเรื่องพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตในด้านการออกกำลังกาย ท่านก็สามารถกลับมาอ้วนกว่าเดิมได้อีก

mandorlatherapeutics.com
ศัลยกรรมร่างกาย ผ่าตัดลดน้ำหนัก เสริมหน้าอก เสริมก้น นวัตกรรมความงาม ศัลยกรรมร่างกาย เสริมหน้าอก ก้น สะโพก ตัดไขมัน ส่วนเกิน ลดน้ำหนัก
Posts created 75

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top