ศัลยกรรมตกแต่งปากแหว่ง

ศัลยกรรมตกแต่งปากแหว่ง ทำได้ในช่วงอายุเท่าไหร่บ้าง ไปดูเลย

ปากแหว่ง คือ อาการที่ริมฝีปากบนแยกออกจากกัน โดยที่ 2 ซีกของใบหน้าไม่สามารถประกบกันได้พอดี เป็นอาการที่พบกับทารก เช่นเดียวกับเพดานโหว่  และปากแหว่งเพดานโหว่ (cleft lip and cleft palate) เป็นความพิการของใบหน้าที่เกิดกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยการทำศัลยกรรมตกแต่งปากแหว่ง

ผลกระทบเมื่อเกิดเป็นโรคปากแหว่ง

  • อาจทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้วย เนื่องจากมีปัญหาในด้านการพูด ทำให้พูดช้า พูดออกเสียงไม่ชัด
  • เนื่องจากเกิดความผิดปกติของโครงสร้างริมฝีปากเพดานและจมูก จึงทำให้มีความผิดปกติของโครงสร้างของฟันและการสบกันของฟัน
  • เนื่องจากมีความลำบากในการดูดกลืนอาหาร จึงมีผลต่อการเจริญเติบโต และ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ช้า
  • มีปัญหาในการดูดกลืนอาหาร เนื่องจากทำให้นมไหลย้อนขึ้นไปที่จมูกผ่านช่องเพดานโหว่ เกิดการระคายเคืองจมูก ยิ่งทานนมผสมจะมีอาการมากกว่าทานนมแม่ ทำให้ทารกกระสับกระส่าย ร้องไห้ กวนบ่อย และไม่อยากดูดนม
  • การดูดกลืนนม หรืออาหารที่ยากลำบาก อาจทำให้สำลัก ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

สาเหตุของการเกิดโรค

  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การใช้ยา รวมไปถึงสารเคมีต่าง ๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้ยากันชัก การขาดโฟเลต เป็นต้น
  • ความผิดปกติระดับยีนทำให้เกิดการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น

อาการของโรค

ปากแหว่งเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้จากภายนอก คือ มีรอยแยกของริมฝีปากบนและอาจเป็นไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้าได้ด้วย อาจเป็นด้านเดียวหรือสองด้าน

ส่วนเพดานโหว่ คือ รอยแยกที่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง  อาจมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อที่เปิดปิดทางระบายหูชั้นกลางผิดปกติ มีน้ำคั่งในหูชั้นกลางส่งผลให้การได้ยินลดลง มีโครงสร้างของกระดูกใบหน้าส่วนกลางผิดปกติ  มีการสบกันของฟันผิดปกติ ทำให้มีปัญหาการพูด พูดไม่ชัด เสียงขึ้นจมูก

การตรวจวินิจฉัย

สามารถตรวจได้จากการทำ ultrasound ซึ่งสามารถทำได้เมื่อครรภ์มีอายุประมาณ 16 สัปดาห์ขึ้นไป เมื่อทราบว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติจะได้มีการเตรียมตัวในการดูแล เช่น เทคนิคการป้อนนม และสร้างเสริมความเข้าใจของครอบครัวเกี่ยวกับโรค รวมถึงส่งต่อเพื่อรักษาต่อเนื่องกับแพทย์และทันตแพทย์เฉพาะทาง

ศัลยกรรมตกแต่งปากแหว่ง ทำยังไง

การผ่าตัดตกแต่งปากแหว่งตามช่วงเวลา

การผ่าตัดริมฝีปาก (Cheiloplasty) ทำได้เมื่ออายุ 10 สัปดาห์

การผ่าตัดเพดานปาก (Palatoplasty) ทำได้เมื่ออายุ 9 – 18 เดือน

การผ่าตัดคอหอย (Pharyngoplasty) ทำได้เมื่ออายุ 3 – 5 ปี

การผ่าตัดปลูกกระดูก (Alveolar cleft bone graft) ทำได้เมื่ออายุ 6 – 9 ปี

การผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic surgery) เพศหญิงทำได้เมื่อ 14- 16 ปี เพศชายทำได้เมื่ออายุ 16 – 18 ปี

การผ่าตัดแก้ไขจมูก (Septorhinoplasty) หลังการผ่าตัดขากรรไกร

ปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่มีความท้าทายในการรักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี โดยจะต้องอาศัยความร่วมมือจากแพทย์ ทันตแพทย์หลายสาขา ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดออกมา โดยมีเป้าหมายของการรักษา คือ

  • มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ
  • มีเพดานปากที่ต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เด็กสามารถพูดและรับประทานอาหารได้อย่างปกติ
  • มีสุขภาพช่องปาก และการสบฟันที่ปกติ
  • มีความสวยงามของบริเวณริมฝีปากและจมูกที่ดี

บทความแนะนำ กระชับจุดซ่อนเร้น By Rattinan.com

วิธีการรักษา

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ควรได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยในแต่ละช่วงวัย จะมีการรักษาและแก้ไขอาการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป โดยใช้ทีมสหสาขาวิชาชีพมาร่วมกันรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยต้องได้รับผ่าตัดตามวัย ซึ่งอาจมากกว่า 1 ครั้ง  ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลและผ่าตัดอย่างถูกวิธีจะลดความพิการกลับมาอยู่ในภาวะปกติได้

ในช่วงทารก แพทย์จะเริ่มจากการใช้อุปกรณ์ปรับตำแหน่งปากบน จมูก และเพดานปาก (nasoalveolar molding หรือ NAM)  และรับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปากแหว่งในระยะต่อมา และเมื่อเด็กโตขึ้นจะเริ่มรักษาเพดานโหว่ เพื่อช่วยให้เด็กพูดได้ชัด รวมถึงมีการจัดฟันและผ่าตัดกระดูกขากรรไกรบนร่วมด้วยเพื่อให้การสบฟันเป็นปกติตลอดวัยเด็ก

การป้องกันอาการปากแหว่งเพดานโหว่

  • ในระหว่างการตั้งครรภ์ การที่จะรับประทานยาควรปรึกษาคุณหมอ หรือเภสัชกร ทุกครั้ง
  • รับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ และเน้นอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น บรอคโคลี เมล็ดธัญพืช ตับ เป็นต้น
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ควรงดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์
  • คุณแม่ควรหาเวลาทำกิจกรรมเพื่อเป็นการลดความเครียด
  • คุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • คุณแม่ควรหาเวลาออกกำลังกาย
  • คุณแม่ควรได้รับวิตามิน บี 6 วิตามินบี 12 ธาตุสังกะสี และกรดโฟลิค ก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 2 เดือน จนกระทั่ง 3 เดือนหลังการตั้งครรภ์

บทสรุป

ศัลยกรรมตกแต่งปากแหว่ง โรคปากแหว่งเป็นโรคที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัด ซึ่งแพทย์จะใช้การรักษาตามช่วงอายุ ซึ่งสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 10 เดือนขึ้นไป โดยจะต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางหลายสาขาร่วมดูแลเป็นทีม เช่น กุมารแพทย์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง ทันตแพทย์ นักฝึกพูด โดยจะมีการวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยและให้คำแนะนำการผ่าตัดผู้ป่วยแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบตามความจำเป็นและเหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด

mandorlatherapeutics.com
ศัลยกรรมร่างกาย ผ่าตัดลดน้ำหนัก เสริมหน้าอก เสริมก้น นวัตกรรมความงาม ศัลยกรรมร่างกาย เสริมหน้าอก ก้น สะโพก ตัดไขมัน ส่วนเกิน ลดน้ำหนัก
Posts created 75

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top